ภาพดาวหาง C/2011 L4 หรือ Pan-STARRS ดาวหางคาบยาวที่โคจรเข้ามาเยือนเหนือท้องฟ้าเมืองไทย ให้เราได้ตื่นเต้นกัน ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ตอนนี้กำลังค่อยๆ โคจรจากไปแล้ว ภาพด้านล่างผู้เขียนถ่ายไว้ในวันที่ 11 มิถุนายน 2013 ที่ผ่านมา โดยใช้เครื่อข่ายกล้องโทรทรรศน์ iTelescope ที่ New Maxico
ดาวหาง Pans-STARRS ถูกค้นพบครั้งแรก ในเดือนมิถุนายน 2011 ด้วยระบบกล้องสำรวจท้องฟ้า Panoramic Survey Telescope and Rapid Response System หรือมีชื่อย่อว่า Pans-STARRS ซึ่งตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟ Haleakala บนเกาะฮาวาย
Pans-STARRS เป็นดาวหางคาบยาว ซึ่งจะโคจรเข้ามาเยือนระบบสุริยะของเราเพียงครั้งเดียวเท่านั้น และขณะที่เคลื่อนเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์นั้น จะเข้าใกล้มากในระดับ 0.3 หน่วยดาราศาสตร์ ซึ่งใกล้กว่าดาวพุธเสียอีก ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ดาวหางดวงนี้อาจมีความสว่างได้ถึง -4 เมกนิจูด เลยทีเดียว ซึ่งสามารถมองเห็นได้ดวงตาเปล่า แต่เมื่อดาวหางโคจรเข้ามาจริงๆ ความสว่างกลับน้อยกว่าที่คาดการเอาไว้ โดยความสว่างลดลงเหลือ +2 เมกนิจูด แต่ก็ยังพอจะสังเกตด้วยตาเปล่าได้
สำหรับเมืองไทย ดาวหางจะปรากฎหลังจากดวงอาทิตย์ตก และอยู่ใกล้กับขอบฟ้าด้านทิศตะวันตกมาก ทำให้การสังเกตการณ์ทำได้ยาก แต่ก็ยังมีรายงานว่าคณะผู้สังเกตการณ์ที่จังหวัดเชียงใหม่ สามารถบันทึกภาพดาวหางดวงนี้เอาไว้ได้ ในขณะที่ตอนนั้นผู้เขียนอยู่ที่จังหวัดระยอง และถึงแม้จะแบกกล้องไปนั้งรออยู่ที่ชายหาด แต่ก็หมดหวังครับ ท้องฟ้าเต็มไปด้วยเมฆและเฮด
ตำแหน่งของดาวหางบนวงโคจรในวันที่ทำการบันทึกภาพ
[Credit: JPL Small-Body Database Browser]
กราฟแสดงการคาดการความสว่างของดาวหาง ซึ่งจะลดลงเรื่อยๆ
[Credit: ซอฟแวร์ Obitas 1.19]
แต่อย่างไรก็ตาม ในเดือนพฤศจิกายนของปีนี้ ยังมีดางหางอีกหนึ่งดวง ที่กำลังโคจรเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ โดยจะเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์มากถึง 0.012 หน่วยดาราศาสตร์ หรือเรียกได้ว่าเฉียดผิวของดวงอาทิตย์ไปเพียงนิดเดียวเท่านั้นเองเลยทีเดียว นั่นคือ ดาวหาง ISON (C/2012 S1) ซึ่งคาดการว่าเมื่อโคจรเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดอาจมีความสว่างได้มากถึง -13 เมกนิจูด เลยทีเดียว แต่ก็ต้องอย่าลืมว่า ช่วงที่ดาวหางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดนั้น ดาวหางจะขึ้นตกพร้อมกับดวงอาทิตย์ครับ ซึ่งเราไม่สามารถสังเกตดางหางได้ในช่วงนั้น ยังไงก็ต้องลองลุ้นดูครับว่า ISON จะทำให้เราผิดหวังหรือเปล่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น