ร่องรอยของอุกกาบาต Chelyabinsk
[Credit: European Space Agency: ESA]
อุกกาบาตลูกนี้ เคลื่อนที่พาดผ่านบนท้องฟ้า จากทาง ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ไปยัง ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ สูงจากขอบฟ้าเป็นมุมประมาณ 20 องศา ด้วยความเร็มประมาณ 18 กิโลเมตรต่อวินาที หรือ 64,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (คำนวณโดย Peter Brown แห่งมหาวิทยาลัย University of Western Ontario ประเทศเคนาดา) ด้วยความเร็วขนาดนี้เมื่อปะทะกับความหนาแน่นของบรรยากาศโลก ที่ระดับความสูงประมาณ 15-20 กิโลเมตร จึงทำให้เกิดการระเบิด และด้วยขนาดประมาณ 17 เมตร และมีมวลกว่า 7000-10000 ตัน จึงทำให้แรงระเบิดที่เกิดขึ้น อาจเทียบได้กับ ระเบิด TNT ขนาด 500 กิโลตันเลยทีเดียว
แสดงลักษณะวงโคจรของดาวเคาะห์น้อย Chelyabinsk (ChM)
ส่วนรูปวงโคจรที่เป็นเส้นประ (---) และเป็นเส้นจุด (...) สีน้ำเงินนั้น
แสดงวงโคจรที่ใกล้และไกลที่สุดที่อาจเป็นไปได้
แสดงวงโคจรที่ใกล้และไกลที่สุดที่อาจเป็นไปได้
[Credit: Jorge I. Zuluaga, Ignacio Ferrin]
ล่าสุด ทีมนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัย University of Antioquia ของประเทศโคลัมเบีย โดย Jorge I. Zuluaga และ Ignacio Ferrin ได้ตีพิมพ์บทความชื่อ "A preliminary reconstruction of the orbit of the Chelyabinsk Meteoroid" โดยการรวบรวมข้อมูลหลักฐาน จากภาพถ่ายและวีดีโอ เพื่อนำมาคำนวณทิศทางการพุ่งตกของอุกกาบาต และใช้ข้อมูลที่ได้คำนวณกลับไปสู่การอธิบายลักษณะวงโคจรของอุกกาบาต ก่อนตกลงสู้พื้นโลก โดยใช้กระบวนการวิธี Monte Carlo Methods ในการคำนวณความน่าจะเป็นของตัวแปรต่างๆ ของวงโคจร โดยอุกกาบาตลูกนี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของ ดาวเคราะห์น้อยที่มีวงโคจรใกล้โลก (NEAs) ในกลุ่มของ Apollo (สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากบทความเรื่อง "NEO คืออะไร")
และส่วนคำถามที่หลายคนอาจตั้งข้อสงสัยว่า ทำไมเราถึงไม่พบดาวเคาะห์น้อยดวงนี้ก่อนที่มันจะพุ่งชนโลก?
โดยส่วนตัวแล้ว ผมคิดว่า ถึงแม้ตอนนี้เราจะมีองค์กรและหอดูดาวขนาดใหญ่หลายแห่ง รับหน้าที่ดูแลเรื่องการค้นหา และคำนวณวงโคจรของวัตุถเหล่านี้แล้วก็ตาม แต่นั้นก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะตรวจพบมันได้ก่อนที่มันจะเข้ามาถึงตัวเรา ดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดเล็ก (นั้นแปลว่ามีความสว่างน้อยด้วย) และมีความเร็วสูงนั้น กว่าที่มันจะเข้าใกล้จนมีความสว่างมากพอที่จะตรวจจับได้ ก็อาจใกล้เกินไปเสียแล้ว
ยกตัวอย่าง เช่น ดาวเคราะห์น้อย 2008 TC3 ที่พุ่งเข้าสู่บรรยากาศโลกและตกลงบริเวณทะเลทรายของประเทศซูดาน ในวันที่ 7 ตุลาคม ปี 2008 ซึ่งก็เป็นดาวเคราะห์น้อยที่เราตรวจพบเพียง 20 ชั่งโมงเท่านั้น ก่อนที่จะพุ่งเข้าชนโลก
Donald Yeomans นักดาราศาสตร์ ของ JPL
อธิบายเกี่ยวกับ พุ่งชนของดาวเคราะห์น้อย 2008 TC3
[ข้อมูลเพิ่มเติมเกียวกับ ดาวเคราะห์น้อย 2008 TC3 จาก Near Earth Object Programe]