วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เกาะติดดาวหาง C/2012 S1 (ISON)

ดาวหางไอซอน (C/2012 S1 :ISON) ดาวหางคาบยาวจากดินแดนกลุ่มเมฆออร์ต กำลังเดินทางมุ่งหน้าสู่ใจกลางของระบบสุริยะโดยมีเป้าหมายคือ การโคจรเข้าใกล้พื้นผิวดวงอาทิตย์แบบเฉียดพื้นผิว


เนื่องจากการคำนวณวงโคจรของดาวหางไอซอนพบว่า ดาวหางจะโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากถึง 0.012 หน่วยดาราศาตร์ ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2013 ซึ่งเรียกได้ว่าเฉียดพื้นผิวดวงอาทิตย์เลยทีเดียว 

ดาวหางที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขนาดนี้มีไม่มากนักในอดีต จึงทำให้ดาวหางไอซอนกลายเป็นดาราที่มีกลุ่มคนจำนวนมากเฝ้าติดตาม โดยคาดหวังว่าจะเป็นดาวหางที่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า และมีหางทอดยาวหลายสิบองศาบนท้องฟ้าในยามค่ำคืน 


ถึงแม้ดาวหางไอซอนจะถูกคาดการค่าความสว่างไว้ถึงประมาณแมกนิจูดที่ -4 ขณะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่ดาวหางจะมีความสว่างไม่มากอย่างที่คาดไว้ เนื่องจากแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์อาจฉีดดาวหางออกเป็นชิ้นๆ อย่างที่ดางหฤหัสบดีทำกับ ดางหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 หรือ D/1993 F2 ในปี ค.ศ. 1994 แต่นั่นก็เป็นเพียงการคาดการเท่านั้น สิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ ยังคงเป็นสิ่งที่ต้องติดตามกันต่อไป


และด้วยความน่าสนใจของดาวหางดวงนี้ ผู้เขียนจึงตั้งใจจะติดตามถ่ายภาพและวิเคราะห์ค่าความสว่างของดาวหางงดางนี้ อย่างต่อเนื่อง โดยใช้เครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ iTelescope.net ในการติดตามถ่ายภาพ หากท่านใดสนใจลองเข้าไปศึกษารายละเอียดได้ที่ www.itelescope.net หรือศึกษาคู่มือการใช้งานเบื้องต้นได้ที่ LESA Project โดย ผู้เขียนวิเคราะห์พิกัดตำแหน่งและค่าความสว่างตามบทความของคุณ Roger Dymock ภายใต้โครงการ Alcock ของสมาคมดาราศาสตร์ประเทศอังกฤษ (BAA) เรื่อง " CCD Astrometry and Photometry"โดยใช้ซอฟแวร์ Astrometrica, FoCAs และ Kphot. 

ซอฟแวร์ Astrometrica เป็นซอฟแวร์สำหรับการระบุพิกัดของวัตถุท้องฟ้า (Astrometry) อีกทั้งยังเป็น Shareware ที่มีความสามารถระดับงานวิจัยเลยทีเดียว สามารถดาวน์โหลดได้ที่ www.astrometrica.at 



ซอฟแวร์ FoCAs เป็นซอฟแวร์สำหรับวิเคราะห์หาค่าความสว่าง (Photometry) โดยใช้วิธีที่่เรียกว่า Multi-Aperture ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นโดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่นชาวสเปน ซอฟแวร์ FoCAs จะทำการวิเคราะห์ข้อมูลต่อจาก Astometrica อีกทีหนึ่ง โดยสามารถดาวน์โหลดได้ฟรีที่ www.astrosurf.com/cometas-obs



สุดท้ายซอฟแวร์ Kphot เป็นซอฟแวร์ที่ทำงานบน Dos โดยจะทำการประมาณค่าความสว่างโดยรวม (Total Magnitude: m1) และ ค่า Afro ของดาวหาง โดยการวิเคราะห์ข้อมูลต่อจาก FoCAs ซึ่งค่าความสว่างที่คำนวณได้จะเรียกว่า Visual equivalent magnitude โดยสามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://kometen.fg-vds.de/kphotsoftware.zip



โดยข้อมูลการวิเคราะห์ทั้งหมดจะถูกรายงายไปยัง


Minor Planet Center
MPC reports - send to obs@cfa.harvard.edu

Cometas Group
MPC and Multibox reports - send to cometas_obs@yahoogroups.com

BAA Comet Section