วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559

(7604) Kridsadaporn ดาวเคราะห์น้อยชื่อไทยดวงแรก

วันนี้ขอนำเสนอดาวเคราะห์น้อยที่มีชื่อไทยดวงแรกจากทั้งหมด 9 ดวง* (ข้อมูลล่าสุดในปี 2015) ครับ ดาวเคราะห์น้อย (7604) Kridsadaporn ถูกค้นพบเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1995 จากกล้องโทรทรรศน์ขนาด 0.5 เมตร ของหอดูดาว Siding Spring ประเทศออสเตรเลีย โดย คุณ Robert H. McNaught ภายใต้โครงการ Siding Spring Survey (SSS) และมีชื่อรหัส 1995 QY2


หลังจากนั้นในเดือนเมษายน ค.ศ. 2005 เมื่อผลการคำนวนวงโคจรไม่มีความคลาดเคลื่อนแล้ว ดาวเคราะห์น้อย 1995 QY2 ได้รับการตั้งชื่อจากผู้ค้นพบ Robert H. McNaught โดยให้เกียรติกับคุณ Kridsadaporn (San) Ritsmitchai ชาวไทย ซึ่งเป็นเพื่อนสมัยเรียนที่ Research School of Astronomy and Astrophysics, Australian National University และยังเป็นเพื่อนร่วมงานกันที่หอดูดาว Siding Spring ประเทศออสเตรเลียอีกด้วย


(7604) Kridsadaporn จัดเป็นดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก (Near Earth Asteroid; NEA) ซึ่งมีวงโคจรตัดกับวงโคจรของดาวอังคาร (Mars-crossing Obit) และด้วยความรีของวงโคจรซึ่งใกล้เคียงกับดาวหางที่อยู่ในกลุ่ม Jupiter-family จึงสันนิษฐานว่าอาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่มีแหล่งกำเนิดมาจาก แถบวงแหวนดาวเคราะห์น้อย (Asteroid Belt) ซึ่งอยู่ระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี

(7604) Kridsadaporn มีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทุกๆ 5.49 ปี ขณะที่ถ่ายภาพนี้ ดาวเคราะห์น้อยอยู่ห่างจากโลกของเราประมาณ 3.2 AU มีความสว่างประมาณ 18.9 เมกนิจูด และกำลังมีความสว่างเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จะถึง 15 เมกนิจูด ในช่วงกลางปีหน้าครับ


* รายชื่อดาวเคราะห์น้อยชื่อไทยทั้ง 9 ดวง


Number/Name
Orbit Type
Discovery information
Details from MPC
1
7604 Kridsadaporn
Mars-crosser
Discovered at Siding Spring on 1995-08-31 by R. H. McNaught.
(7604) Kridsadaporn = 1995 QY2
Kridsadaporn (San) Ritsmitchai (1964-2004) was born in Songhkla, Thailand. She and her husband Martin Callaway both lived and worked at Siding Spring Observatory. San is remembered in Coonabarabran for her caring nature and community work. She died tragically in a car accident. [Ref: Minor Planet Circ. 53953]
2
21464 Chinaroonchai
Main Belt
Discovered at Socorro on 1998-04-21 by LINEAR.
(21464) Chinaroonchai = 1998 HH88
Tanongsak Chinaroonchai (b. 1987) was awarded second place in the 2006 Intel International Science and Engineering Fair for his botany team project. He attends the Triam Udom Suksa School, Bangkok, Thailand. [Ref: Minor Planet Circ. 57274]
3
21540 Itthipanyanan
Main Belt
Discovered at Socorro on 1998-08-17 by LINEAR.
(21540) Itthipanyanan = 1998 QE11
Suksun Itthipanyanan (b. 1988) was awarded second place in the 2006 Intel International Science and Engineering Fair for his botany team project. He attends the Triam Udom Suksa School, Bangkok, Thailand. [Ref: Minor Planet Circ. 57275]
4
21632 Suwanasri
Main Belt
Discovered at Socorro on 1999-07-13 by LINEAR.
(21632) Suwanasri = 1999 NR11
Krongrath Suwanasri (b. 1988) was awarded second place in the 2006 Intel International Science and Engineering Fair for his botany team project. He attends the Triam Udom Suksa School, Bangkok, Thailand. [Ref: Minor Planet Circ. 57278]
5
23308 Niyomsatian
Main Belt
Discovered at Socorro on 2001-01-03 by LINEAR.
(23308) Niyomsatian = 2001 AS21
Korawich Niyomsatian (b. 1989) was awarded first place in the 2007 Intel International Science and Engineering Fair for his plant sciences team project. He also received the EU Contest for Young Scientists Award. He attends the Trium Udom Suksa School, Bangkok, Thailand. [Ref: Minor Planet Circ. 60504]
6
23310 Siriwon
Main Belt
Discovered at Socorro on 2001-01-04 by LINEAR.
(23310) Siriwon = 2001 AA25
Natnaree Siriwon (b. 1989) was awarded first place in the 2007 Intel International Science and Engineering Fair for her plant sciences team project. She also received the EU Contest for Young Scientists Award. She attends the Trium Udom Suksa School, Bangkok, Thailand. [Ref: Minor Planet Circ. 60504]
7
23313 Supokaivanich
Main Belt
Discovered at Socorro on 2001-01-03 by LINEAR.
(23313) Supokaivanich = 2001 AC42
Nathaphon Supokaivanich (b. 1988) was awarded first place in the 2007 Intel International Science and Engineering Fair for his plant sciences team project. He also received the EU Contest for Young Scientists Award. He attends the Trium Udom Suksa School, Bangkok, Thailand. [Ref: Minor Planet Circ. 60504]
8
151834 Mongkut
Main Belt
Discovered at Goodricke-Pigot on 2003-03-26 by V. Reddy.
(151834) Mongkut = 2003 FB122
King Mongkut (or Rama IV, 1804-1868) was the monarch of Siam from 1851 to 1868. He embraced Western innovations and initiated the modernization of Siam, both in technology and culture, earning him the nickname "The Father of Science and Technology". Name suggested by the SGAC Name An Asteroid Campaign. [Ref: Minor Planet Circ. 89835]
9
13957 NARIT
Main Belt
Discovered at Siding Spring on 1991-01-07 by R. H. McNaught.
(13957) NARIT = 1991 AG2
The National Astronomical Research Institute of Thailand (NARIT) was established in 2004 to commemorate the life and work of King Mongkut the "Father of Thai Science". NARIT operates a 2.4-m telescope and five regional telescopes in Thailand, and robotic telescopes in Chile, Australia and China. [Ref: Minor Planet Circ. 97568]

(Minor Planet Center: MPC)

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ดาวหาง 9P/Tempel เมื่อเช้านี้

กว่าจะพอมีเวลาว่างกับงานที่ชอบ

 

เช้านี้ใช้กล้อง10" F3.4 ที่ New Mexico เก็บภาพเจ้า 9P/Tempel ดาวหางคาบสั้น ในกลุ่ม Jupiter family ขณะกำลังโครจรเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ โดยมีคาบการโคจร 5.58 ปี ตอนนี้มีความสว่างประมาณ 11.3 เมกนิจูด ในกลุ่มดาวสิงโต


9P/Tempel ถูกค้นพบครั้งแรกโดยคุณ Wilhelm Tempel (เจ้าของชื่อ Tempel) ในปี ค.ศ. 1867 แต่กลับหายไประหว่างปี ค.ศ. 1879 -1967

การโคจรเข้าใกล้ดาวพฤหัสบดีในปี ค.ศ. 1881 ทำให้วงโคจรของดาวหางเปลี่ยนแปลงไปจากอิทธิพลของแรงดุงดูด คุณ Brian Marsden ได้คำนวณวงโคจรของดาวหางใหม่โดยพิจารณาอิทธิพลนี้ร่วมด้วย จนทำให้ Elizabeth Roemer ค้นพบ 9P/Temple อีกครั้ง ในปี ค.ศ. 1967 ซึ่งดาวหางจะเข้าใกล้ดาวพฤหัสบดีอีกครั้งในปี ค.ศ. 2024 หรือในอีก 8 ปีข้างหน้า


9P/Tempel ยังได้รับความสนใจและได้รับเลือกให้เป็นเป้าหมายของ โครงการ Deep Impact ในปี ค.ศ. 2005 อีกด้วย โดยมีจุดประสงค์เพื่อส่งยานเข้าไปสำรวจและวิเคราะห์องค์ประกอบต่างๆ ของดาวหาง ที่น่าสนใจคือ มีการวางแผนให้ยาน Deep Impact พุ่งชนพื้นผิวดาวหางเพื่อเก็บข้อมูลจนวาระสุดท้ายในวันที่ 4 กรกฏาคม ค.ศ. 2005 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เราได้ทำความรู้จักกับวัตถุเก่าแก่ของระบบสุริยะมากขึ้น ไปอีกขั้นหนึ่ง


วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ติดตาม ISON กันต่อด้วยกล้อง SOHO

ตอนนี้ดาวหาง ISON เริ่มสังเกตการณ์ได้ยากขึ้นทุกทีครับ เพราะเริ่มปรากฏเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้นเรื่อยๆ แต่ถึงกระนั้นเราก็ยังสามารถติดตามลุ้นไปกับดาวหางดวงนี้ได้ต่อ แบบเกือบ real time ผ่านกล้องโทรทรรศน์อวกาศโซโฮ (SOHO) ครับ


กล้องโทรทรรศน์อวกาศโซโฮ (SOHO)
[Credit: ESA/NASA]

กล้องโทรทรรศน์อวกาศโซโฮ (SOHO หรือ Solar and Heliospheric Observatory) เป็นหนึ่งในกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่มีภารกิจหลักในการเฝ้าสังเกตดวงอาทิตย์จากอวกาศ โดยใช้เทคนิกพิเศษในการสร้างสุริยุปราคาจำลองขึ้น เพื่อสังเกตบรรยากาศชั้นโคโรนาของดวงอาทิตย์ได้อย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญ SOHO มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ครับ ไม่ได้โคจรรอบโลกแบบเดียวกับกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล โดยมีวงโคจรถัดเข้าใกล้ดวงอาทิตย์จากวงโคจรของโลกประมาณ 0.01 หน่วยดาราศาสตร์ (AU)


วงโคจรของกล้องโทรทรรศน์อวกาศโซโฮ (SOHO)
[Credit: ESA/NASA]

กล้องอวกาศโซโฮนั้นติดตั้งอุปกรณ์การสังเกตดวงอาทิตย์ไว้หลายชนิดครับ แต่ที่เราสนใจคือ อุปกรณ์ที่เรียกว่า LASCO หรือ Large Angle and Spectrometric Coronagraph ครับ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้บันทึกภาพการเปลี่ยนแปลงในชั้นโคโรนาของดวงอาทิตย์ มีด้วยกันทั้งหมด 3 ตัวครับ C1 C2 และ C3 โดยแต่ละตัวจะมีขนาดความกว้างของมุมมอง หรือ field of view ไม่เท่ากัน
- กล้อง C1 มีมุมมองกว้าง 1.1 - 3 เท่าของรัศมีดวงอาทิตย์ (0.013 AU จากศูนย์กลางดวงอาทิตย์)
- กล้อง C2 มีมุมมองกล้าง 2 - 6 เท่าของรัศมีดวงอาทิตย์ (0.027 AU จากศูนย์กลางดวงอาทิตย์)
- กล้อง C3 มีมุมมองกล้าง 3.7 - 32 เท่าของรัศมีดวงอาทิตย์ (0.148 AU จากศูนย์กลางดวงอาทิตย์)
อย่างไรก็ตาม กล้อง C1 จะถูกใช้เฉพาะในการศึกษา interferometer ของชั้นโคโรนา ในขณะที่กล้อง C2 และ C3 ใช้ถ่ายภาพในย่านแสงขาวของชั้นโคโรนา ซึ่งทำให้เราจะสามารถมองเห็นดาวหางได้จากกล้อง C2 และ C3 เท่านั้นครับ

ตัวอย่างภาพจากกล้อง LASCO C2
[Credit: ESA/NASA]

ตัวอย่างภาพจากกล้อง LASCO C3
[Credit: ESA/NASA]


เนื่องจากดาวหาง ISON จะโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ในระยะ 0.012 AU ซึ่งจะอยู่ในมุมมองของทั้งกล้อง C2 และ C3 ดังนั้นเราจึงสามารถใช้ติดตามดาวหาง ISON ได้จากกล้อง 2 ตัวนี้ โดยสามารถติดตามภาพถ่ายล่าสุดได้ที่ เว็บไซต์ของกล้องอวกาศโซโฮ ครับ ภาพจากกล้อง SOHO เหล่านี้จะอัพเดตอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้เราสามารถติดตามภาพดาวหางได้แบบเกือบ real time ครับ

เว็บไซต์ของกล้องอวกาศโซโฮ

ดาวหาง ISON จะเริ่มมองเห็นได้ในมุมมองของกล้อง LASCO C3 ในวันที่ 27 พ.ย. 2013 เวลาประมาณ 3:00 UT ครับ (สำหรับที่เมืองไทยก็ประมาณ 10:00 นาฬิกาครับ)

ตัวอย่างภาพดาวหาง 96P/Machholz1 ในมุมมองของกล้อง LASCO C3


นอกจากนี้บนเว็บไซต์ของ SOHO ยังมีซอฟแวร์ JHelioviewer ซึ่่งเป็นซอฟแวร์ที่สามารถเชื่อมโยงไปยังฐานข้อมูลภาพถ่ายของกล้องอวกาศโซโฮที่ถ่ายเก็บไว้ย้อนหลังไปอีก 15 ปี โดยสามารถเลือกโหลดภาพในช่วงเวลาที่สนใจจากอุปกรณ์ถ่ายภาพต่างๆ แล้วนำมาแสดงเป็นภาพเคลื่อนไหว และบันทึกเป็นไฟล์ VDO ได้อีกด้วยครับ น่าสนใจมาก ท่านใดสนใจสามารถดาวน์โหลดฟรีได้ ที่นี้ครับ

ซอฟแวร์ JHelioviewer


ลองดาวน์โหลดมาใช้ดูนะครับ และติดตามชมภาพดาวหาง ISON ที่กำลังแหวกว่ายผ่านบรรยากาศของดวงอาทิตย์ไปพร้อมๆ กันครับ



วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Outburst ของ ดาวหาง ISON

ขณะนี้ดาวหาง ISON กำลังมุ่งหน้าเข้าสู่วงโคจรของดาวพุธแล้วครับ และเริ่มตอบสนองต่อพลังงานของดวงอาทิตย์อย่างรุนแรง โดยหัวโคมาของดาวหางเริ่มเกิดการปะทุหรือที่เรียกว่า Outburst ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ดาวหางทีความสว่างเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน 




ตำแหน่งของดาวหาง ISON บนวงโคจร ในวันที่ 23 พ.ย. 2013


ถึงวันนี้แม้ว่าการติดตามสังเกตการณ์ดาวหาง ISON ผ่านเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ในต่างประเทศของผมต้องหยุดลง เนื่องจากดาวหางปรากฏอยู่ใกล้ขอบฟ้ามากเกินกว่าลิมิตของกล้องดูดาวจะถ่ายภาพได้ แต่ก็ยังมีนักดาราศาสตร์สมัครเล่นอีกหลายท่านที่มีกล้องดูดาวเป็นของตนเอง และยังคงติดตามถ่ายภาพดางหางอยู่อย่างต่อเนื่องจนถึงในขณะนี้ ทำให้เราสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงความสว่างของดาวหางได้โดยไม่ขาดช่วง


กราฟการเปลี่ยนแปลงความสว่างของดาวหาง (Visual Magnitude)


ดาวหาง ISON ขณะนี่มีความสว่างถึงแมกนิจูดที่ 4 แล้ว และเริ่มมีรายงานการสังเกตการณ์ด้วยตาเปล่าบ้างแล้ว สำหรับที่เมืองไทยเอง ใครที่อยากเห็นอาจต้องขึ้นไปทางเหนือน่าจะมีโอกาสมากว่านะครับ ตอนนี้ที่เชียงใหม่ก็เริ่มมองเห็นได้กันแล้ว ด้วยตาเปล่าอาจจะลำบากสักหน่อย แต่ถ้าใช้กล้องสองตาช่วยน่าจะสังเกตได้ไม่ยากครับ


กลับมาเรื่องการเกิด Outburst ของดางหางกันนิดนะครับ การเกิด Outburst หรือการปะทุของดาวหางนั้นสามารถสังเกตได้จากอัตราการปลดปล่อยอนุภาคฝุ่นของดาวหางที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปริมาณฝุ่นที่เพิ่มขึ้นจะทำให้หัวโคมาของดาวหางมีขนาดเพิ่มขึ้น และสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ได้มากขึ้น เป็นผลให้ดาวหางมีความสว่างเพิ่มมากขึ้นนั้นเอง โดยปกติแล้วก่อนที่ดาวหางจะเกิดการปะทุขึ้น การปลดปล่อยอนุภาคฝุ่นของดาวหางจะค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้นมาระยะหนึ่ง ปริมาณฝุ่นที่สะสมอยู่รอบๆ จะทำให้หัวโคมาของดาวหางขยายขนาดเพิ่มขึ้น จนกระทั้ง...บูม! เกิดการปะทุอย่างรุนแรง มีปริมาณฝุ่นถูกปลดปล่อยออกมาอย่างมากในช่วงเวลาสั้นๆ ทำให้ดาวหางมีความสว่างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาหนึ่ง แล้วจากนั้นจะค่อยๆ ลดลงครับ หากการปะทุรุนแรงมาก อาจทำให้หัวโคมาแตกออกเป็นชิ้นๆ ได้ ซึ่งความสว่างก็จะฮวบลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน

อัตราการปลดปล่อยอนุภาคฝุ่นของดาวหางนั้น นักดาราศาสตร์จะอธิบายด้วยค่าพารามิเตอร์ตัวหนึ่งที่เรียกว่า Afρ (ออกเสียงว่า Af-rho) ครับ ด้วยการวิเคราะห์ค่าความสว่างรอบๆ หัวโคมา ร่วมกับการพิจารณา ระยะห่างระหว่างโลก ดาวหาง และดวงอาทิตย์ เพื่ออธิบายผลของค่าความสว่างทีี่เกิดจากการปลดปล่อยอนุภาคฝุ่นรอบๆ หัวโคมาของดาวหาง หากท่านใดสนใจศึกษารายละเอียดในเชิงลึก คลิกที่นี้เลยครับ


กราฟแสดงการเปลี่ยนแปลงค่า Afρ ของดาวหาง ISON ในช่อง 30 วัน
[Credet: Cometas_Obs]


จากกราฟแสดงการเปลี่ยนแปลงค่า Afρ ด้านบน เห็นได้ชัดครับว่า ดาวหาง ISON มีการปลดปล่อยอนุภาคฝุ่นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในวันที่ 14 พ.ย. 2013 และค่อยๆ ลดลง จนกระทั่งในวันที่ 20 พ.ย. 2013 ได้มีสัญญาณของการปะทุรอบที่ 2 ขึ้นอีก ไม่รู้ว่าหากดาวหางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้นกว่านี้ จะมีการปะทุเกิดขึ้นอีกสักกี่ครั้ง ต้องติดตามต่อไปครับ


วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ดาวหาง ISON ... มุ่งหน้าเข้าสู่วงโคจรของดาวศุกร์

หลังจากติดตามสังเกตการณ์ ดาวหาง ISON ผ่านเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ iTelescope ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ขณะนี้ดาวหางเคลื่อนผ่านวงโคจรของโลกไปแล้ว และกำลังมุ่งหน้าเข้าสู่วงโคจรของดาวศุกร์


ตำแหน่งของดาวหาง ISON บนวงโคจร ในวันที่ 7 พ.ย. 2013


การเปลี่ยนแปลงของดาวหาง ISON ตั้งแต่วันที่ 7 ต.ค. 2013 ถึง วันที่ 2 พ.ย. 2013
(เลือกเฉพาะภาพที่ถ่ายจากกล้องขนาด 0.43 เมตร และใช้เวลาเปิดหน้ากล้องเท่ากัน)

ถึงแม้ว่าความสว่างของดาวหางจะเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ยังน้อยกว่าที่มีการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้าถึงประมาณ 2 เมกนิจูด ภาพด้านล่างนี้ค่าความสว่างถูกวิเคราะห์โดยซอฟแวร์  Astrometrica, FoCAs และ Kphot เพื่อประมาณค่าความสว่างเที่ยบเท่ากับการสังเกตด้วยตา (visual magnitude) โดยแถบสีส้มเป็นช่วงเวลาที่ดาวหางปรากฏอยู่สูงจากขอบฟ้าต่ำกว่า 20 องศา ซึ่งต่ำกว่าลิมิตรของกล้องดูดาวที่สามารถถ่ายภาพได้

กราฟการเปลี่ยนแปลงความสว่างของดาวหาง ISON เทียบกับค่าที่คาดการณ์ไว้
จาก Minor Planet Centor (MPC)

รายงานการสังเกตดาวหางแบบวันต่อวัน

วันที่ 31 ต.ค. 2013
สังเกตการณ์ด้วยกล้อง Planewave CDK ขนาด 0.43 เมตร (17") ที่ New Mexico ดาวหางอยู่ในกลุ่มดาวสิงโต มีความสว่าง 9.4 เมกนิจูด ปรากฏหางทอดยาวออกไป ประมาณ 20 อาร์คนาที (60 อาร์คนาที = 1 องศา) ทิศทางของหางอยู่ในแนวเดียวกับทิศทางการเคลื่อนที่ของดาวหาง

ตำแหน่งดาวหางที่ New Mexico จากซอฟแวร์ Stellarium



วันที่ 2 พ.ย. 2013
สังเกตการณ์ด้วยกล้อง Planewave CDK ขนาด 0.43 เมตร (17") ที่ New Mexico ดาวหางอยู่ในกลุ่มดาวสิงโต มีความสว่างเท่าเดิม 9.4 เมกนิจูด ปรากฏหางทอดยาวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ประมาณ 24 อาร์คนาที (60 อาร์คนาที = 1 องศา) ทิศทางของหางอยู่ในแนวเดียวกับทิศทางการเคลื่อนที่ของดาวหาง

ตำแหน่งดาวหางที่ New Mexico จากซอฟแวร์ Stellarium



วันที่ 7 พ.ย. 2013
สังเกตการณ์ด้วยกล้อง Takahashi Epsilon ขนาด 0.25 เมตร ที่ New Mexico ดาวหางเคลื่อนมาอยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาว มีความสว่างเพิ่มขึ้นเป็น 8.8 เมกนิจูด ปรากฏหางทอดยาวเท่าเดิม ประมาณ 24 อาร์คนาที (60 อาร์คนาที = 1 องศา) ทิศทางของหางอยู่ในแนวเดียวกับทิศทางการเคลื่อนที่ของดาวหาง

ตำแหน่งดาวหางที่ New Mexico จากซอฟแวร์ Stellarium



อย่างไรก็ตามยังไม่พบสัณญาณของการแตกตัวของนิวเคลียส (Disintegration) อย่างที่มีการคาดการณ์ไว้ ซึ่งบางที่อาจต้องงรอให้ดาวหางเข้าใกล้ดาวอาทิศย์มากกว่านี้อีก แต่การติดตามสังเกตด้วยกล้องโทรทรรศน์ในต่างประเทศนี้ คงทำได้แค่เพียงวันที่ 12 พ.ย. 2013 เท่านั้น เนื่องจากดาวหางจะปรากฏอยู่สูงจากขอบฟ้าต่ำกว่า 20 องศา ซึ่งต่ำกว่าลิมิตการถ่ายภาพของกล้องที่ผมใช้งาน ต้องรอหลังจากดาวหางโคจรออกมาจากดาวอาทิตย์อีกครั้งหนึ่ง (ถ้ารอดมาได้นะ...) ถึงจะเริ่มภายภาพได้อีกครั้ง