วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ดาวหาง ISON ... มุ่งหน้าเข้าสู่วงโคจรของดาวศุกร์

หลังจากติดตามสังเกตการณ์ ดาวหาง ISON ผ่านเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ iTelescope ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ขณะนี้ดาวหางเคลื่อนผ่านวงโคจรของโลกไปแล้ว และกำลังมุ่งหน้าเข้าสู่วงโคจรของดาวศุกร์


ตำแหน่งของดาวหาง ISON บนวงโคจร ในวันที่ 7 พ.ย. 2013


การเปลี่ยนแปลงของดาวหาง ISON ตั้งแต่วันที่ 7 ต.ค. 2013 ถึง วันที่ 2 พ.ย. 2013
(เลือกเฉพาะภาพที่ถ่ายจากกล้องขนาด 0.43 เมตร และใช้เวลาเปิดหน้ากล้องเท่ากัน)

ถึงแม้ว่าความสว่างของดาวหางจะเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ยังน้อยกว่าที่มีการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้าถึงประมาณ 2 เมกนิจูด ภาพด้านล่างนี้ค่าความสว่างถูกวิเคราะห์โดยซอฟแวร์  Astrometrica, FoCAs และ Kphot เพื่อประมาณค่าความสว่างเที่ยบเท่ากับการสังเกตด้วยตา (visual magnitude) โดยแถบสีส้มเป็นช่วงเวลาที่ดาวหางปรากฏอยู่สูงจากขอบฟ้าต่ำกว่า 20 องศา ซึ่งต่ำกว่าลิมิตรของกล้องดูดาวที่สามารถถ่ายภาพได้

กราฟการเปลี่ยนแปลงความสว่างของดาวหาง ISON เทียบกับค่าที่คาดการณ์ไว้
จาก Minor Planet Centor (MPC)

รายงานการสังเกตดาวหางแบบวันต่อวัน

วันที่ 31 ต.ค. 2013
สังเกตการณ์ด้วยกล้อง Planewave CDK ขนาด 0.43 เมตร (17") ที่ New Mexico ดาวหางอยู่ในกลุ่มดาวสิงโต มีความสว่าง 9.4 เมกนิจูด ปรากฏหางทอดยาวออกไป ประมาณ 20 อาร์คนาที (60 อาร์คนาที = 1 องศา) ทิศทางของหางอยู่ในแนวเดียวกับทิศทางการเคลื่อนที่ของดาวหาง

ตำแหน่งดาวหางที่ New Mexico จากซอฟแวร์ Stellarium



วันที่ 2 พ.ย. 2013
สังเกตการณ์ด้วยกล้อง Planewave CDK ขนาด 0.43 เมตร (17") ที่ New Mexico ดาวหางอยู่ในกลุ่มดาวสิงโต มีความสว่างเท่าเดิม 9.4 เมกนิจูด ปรากฏหางทอดยาวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ประมาณ 24 อาร์คนาที (60 อาร์คนาที = 1 องศา) ทิศทางของหางอยู่ในแนวเดียวกับทิศทางการเคลื่อนที่ของดาวหาง

ตำแหน่งดาวหางที่ New Mexico จากซอฟแวร์ Stellarium



วันที่ 7 พ.ย. 2013
สังเกตการณ์ด้วยกล้อง Takahashi Epsilon ขนาด 0.25 เมตร ที่ New Mexico ดาวหางเคลื่อนมาอยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาว มีความสว่างเพิ่มขึ้นเป็น 8.8 เมกนิจูด ปรากฏหางทอดยาวเท่าเดิม ประมาณ 24 อาร์คนาที (60 อาร์คนาที = 1 องศา) ทิศทางของหางอยู่ในแนวเดียวกับทิศทางการเคลื่อนที่ของดาวหาง

ตำแหน่งดาวหางที่ New Mexico จากซอฟแวร์ Stellarium



อย่างไรก็ตามยังไม่พบสัณญาณของการแตกตัวของนิวเคลียส (Disintegration) อย่างที่มีการคาดการณ์ไว้ ซึ่งบางที่อาจต้องงรอให้ดาวหางเข้าใกล้ดาวอาทิศย์มากกว่านี้อีก แต่การติดตามสังเกตด้วยกล้องโทรทรรศน์ในต่างประเทศนี้ คงทำได้แค่เพียงวันที่ 12 พ.ย. 2013 เท่านั้น เนื่องจากดาวหางจะปรากฏอยู่สูงจากขอบฟ้าต่ำกว่า 20 องศา ซึ่งต่ำกว่าลิมิตการถ่ายภาพของกล้องที่ผมใช้งาน ต้องรอหลังจากดาวหางโคจรออกมาจากดาวอาทิตย์อีกครั้งหนึ่ง (ถ้ารอดมาได้นะ...) ถึงจะเริ่มภายภาพได้อีกครั้ง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น