ตัวอย่างเช่น:
ภาพที่มองผ่านกล้องสองตา ที่กำลังขยาย 15 เท่า และมี FOV = 4.4 องศา
ภาพที่มองผ่านกล้องโทรทรรศน์ ที่กำลังขยาย 162.5 เท่า และมี FOV = 0.34 องศา
การจับคู่กันของกล้องโทรทรรศน์และเลนส์ใกล้ตา หรือกล้องโทรทรรศน์และอุปกรณ์ถ่ายภาพชุดหนึ่งๆ จะให้ค่า FOV ต่างกันออกไป โดยจะขึ้นอยู่กับค่ากำลังขยายที่ใช้ ชนิดของเลนส์ใกล้ตา และขนาดของชิฟ CCD ที่ใช้ในการรับภาพในกรณีของการถ่ายภาพ
วิธีการทำให้ Stellarium ของเรารู้จักกับอุปกรณ์ที่เราใช้ และคำนวณค่า FOV ให้เรานั้นก็ไม่ยากครับ เริ่มจาก
1. เลือก Configuration จากไอคอนรูปประแจด้านซ้ายมือ แล้วเลือกแท็ป Plugin จากนั้นเลือก Plugin ชื่อ Oculars แล้ว คลิกปุ่ม Configure ด้านล่าง
2. เลือกแท็ป General แล้ว เลือก Interface เป็นแบบ On-screen control panel
3. เลือกแท็ป Eyepieces แล้วคลิกปุ่ม Add จะปรากฏรายการ เลนส์ใกล้ตาของเราชื่อ My Ocular โดยสามารถเปลี่ยนชื่อและข้อมูลได้ตามรายละเอียดด้านขวามือ ดังนี้
Name: ชื่อที่เราต้องการ
aFOV: ค่า Apparent FOV ของเลนส์ใกล้ตา (หน่วยองศา ,มีคำอธิบายเพิ่มเติมด้านล่าง)
Focal length: ค่าความยาวโฟกัสของเลนส์ใกล้ตา (หน่วยมิลลิเมตร)
Field stop: ขนาดของวงแหวน Field stop (หน่วยมิลลิเมตร ,มีคำอธิบายเพิ่มเติมด้านล่าง)
เลนส์ใกล้ตาที่มีจำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน จะประกอบขึ้นจากชิ้นเลนส์หลายชิ้น โดยอาจแบ่งออกได้ 3 ประเภทที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ดังนี้
ชนิดของเลนส์ใกล้ตาที่นิยมใช้ในปัจจุบัน [Credit: Julius L. Benton, Jr]
โดยจะเห็นว่าเลนส์ใกล้ตาแต่ละชนิด จะมีการประกอบชิ้นเลนส์ภายในแตกต่างกันออกไป ซึงมีผลให้เลนส์ใกล้ตาแต่ละแบบมีมุมมองภาพปรากฏ หรือ aFOV เมื่อมองผ่านเลนส์ใกล้ตาโดยตรงไม่ผ่านกล้องโทรทรรศน์ค่าหนึ่ง ซึ่งจะมีค่าประมาณ 45-55 องศา แต่ก็อาจมีเลนส์ใกล้ตาที่ผลิตขึ้นพิเศษ เพื่อให้มีค่า aFOV มากถึง 80 องศา ซึ่งจะถูกเรียกว่า เลนส์ใกล้ตาแบบมุมมองกว้าง หรือ wide-field
โดยปกติแล้ว เลนส์ใกล้ตาชนิด Kellner จะให้ค่า aFOV ประมาณ 50 องศา ชนิด Orthoscopic จะให้ค่า aFOV ประมาณ 45 องศา และชนิด Plossl จะให้ค่า aFOV ประมาณ 55 องศา เลนส์ใกล้ตาที่เราใช้เป็นชนิดใดก็ใส่ค่า aFOV ไปได้เลยครับ
ขนาดของ Field stop
Field stop นี้คือวงแหวนที่ใส่ไว้ในส่วนท้ายของเลนส์ใกล้ตา โดยทำหน้าที่จำกัดขอบเขตของ FOV
หากไม่ทราบใช้ค่าเท่ากับ 0 ก็ได้ครับ
วงแหวน Field stop [Cradit: www.garyseronik.com]
Name: Orion Sirius Plossl 25mm
aFOV: 52
Focal length: 25
Field stop: 24.1
หลังจากหาข้อมูลของเลนส์ใกล้ดากันได้แล้ว ก็ไปกำหนดค่าของกล้องโทรทรรศน์ต่อเลยครับ
Name: ชื่อที่เราต้องการ
Focal length: ค่าความยาวโฟกัสของเลนส์ใกล้วัตถุ (หน่วยมิลลิเมตร)
Diameter: ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางหน้ากล้อง (หน่วยมิลลิเมตร)เช่น
Name: Meade LX200 16"
Focal length: 4064
Diameter: 406.4
5. จากนั้นให้ปิดหน้าต่างที่ค้างอยู่ให้หมด แล้วลองค้นหาวัตถุที่เราสนใจ ในที่นี้ผมเลือก M57 หรือเนบิวลาวงแหวนในกลุ่มดาวพิณ
6. เมื่อพบวัตถุที่ต้องการแล้ว ลองสังเกตที่มุมบนด้านขวา จะมีเครื่องมือให้เลือกการแสดง FOV ลองคลิกเลือกดูครับ ตาทแบบที่เราชอบ โปรแกรมจะแสดงภาพเฉพาะที่อยู่ใน FOV ของกล้องโทรทรรศน์ และเลนส์ใกล้ตาที่เราใช้
ซึ่งสามารถเลื่อนเปลี่ยนการจับคู่ของกล้องโทรทรรศน์และเลนส์ใกล้ตาตัวอื่นๆ ได้ครับ
ปล. สำหรับแท็ป Sensor ที่ข้ามไปจะเป็นการใส่ข้อมูลของกล้อง CCD ครับ ซึ่งจะขออธิบายอีกครั้งในภายหลัง แต่ถ้าใครสนใจจะลองศึกษาด้วยตัวเองก่อนก็ได้ครับ