โดยมาตราโทริโนที่ว่านี้ ถูกเสนอขึ้นครั้งแรกโดย ศาสตราจารย์ Richard Binzel แห่งมหาวิทยาลัย MIT ในปีค.ศ. 1995 ภายใต้ชื่อว่า "A Near-Earth Object Hazard Index" และต่อมาในเดือนกรกฏาคม ปี ค.ศ. 1999 ระหว่างการประชุมนานาชาติเกี่ยวกับวัตถุใกล้โลก หรือ NEOs ศาสตราจาย์ Binzel ได้เสนอฉบับปรับปรุงใหม่ โดยแบ่งระดับความเสี่ยงของดาวเคราะห์น้อยแต่ละดวงออกเป็น 10 ระดับ ซึ่งมีความสัมพันธ์กันระหว่างความเป็นไปได้ของการพุงชนโลก และระดับพลังงานจลน์ (มีหน่วยเทียบเป็น ปริมาณเมกกะตันของระเบิด TNT) หรือความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นหากมีการพุ่งชนจริง และในครั้งนี้มีการโหวตให้ใช้ชื่อมาตราส่วนนี้ว่า "มาตราโทริโน" หรือ Torino Scale ตามชื่อเมื่อง Torino (Turin) ในประเทศอิตาลี ซึ่งเป็นเมืองที่เป็นสถานที่จัดการประชุมในครั้งนั้นนั่นเอง
เมือง Torino หรือ Turin ในประเทศอิตาลี
ปัจจุบันมาตราโทริโนถูกปรับปรุงล่าสุดในปี ค.ศ. 2004 โดยปรับปรุงคำอธิบายระดับความรุนแรงและเพิ่มรหัสโคดสี แบ่งโซนความเสี่ยงออกเป็น 5 โซนสี คือ สีขาว สีเขียว สีเหลือง สีส้ม และสีแดง เพื่อให้เข้าใจง่ายมากขึ้น และไม่สร้างความกังวนให้กับผู้คนมากเกินไป เนื่องจากระดับความเสี่ยงที่ถูกระบุไว้ตอนต้น อาจเปลี่ยนกลับมาเป็นระดับ 0 ได้ เมื่อสามารถคำนวณวงโคจรที่แม่นยำมากขึ้นได้
ระดับความเสี่ยงตามมาตราโทริโน
ข้อมูลจากโครงการ Near Earth Object Program ของ NASA ระบุว่าขณะนี้มีดาวเคราะห์น้อย ที่มีระดับความเสี่ยงเท่ากับ 1 ตามมาตราโทริโน ซึ่งมีระดับความเสี่ยงสูงที่สุดในเวลานี้ มีอยู่ 2 ดวง คือ 2011 AG5 และ 2007 VK184
[credit: Near Earth Object Program]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น