วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

NEO คืออะไร?

NEOs หรือ Near-Earth Objects เป็นชื่อเรียกวัตถุ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์จำพวกดาวเคราะห์น้อย (Asteroid) และดาวหาง (Comet) ที่มีวงโคจรใกล้หรือตัดกับวงโคจรของโลก ดังนั้น NEOs จึงเป็นวัตถุที่นักดาราศาสตร์จำเป็นต้องคอยเฝ้าติดตาม และต้องพยายามคำนวณวงโคจรที่ถูกต้องให้ได้เร็วที่สุด เพื่อจะได้สามารถพยากรณ์ได้ว่า วัตถุเหล่านี้จะมีโอกาสพุ่งชนกับโลกเราหรือไม่

การจำแนกกลุ่มของ NEOs
NEOs เป็นวัตถุที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ในระยะห่างออกไปไม่เกิน 1.3 หน่วยดาราศาสตร์ (AU) หรือไม่เกินกว่าระยะของดาวอังคาร โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มๆ ได้ดังนี้
  1. NECs (Near-Earth Comet) คือ กลุ่มของดาวหาง ที่เมื่อโคจรเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด จะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 1.3 AU ซึ่งส่วนใหญ่เป็นดาวหางคาบสั้้น (shot-period) มีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์น้อยกว่า 200 ปี
  2. NEAs (Near-Earth Asteroid) คือ กลุ่มของดาวเคราะห์น้อย ที่เมื่อโคจรเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด จะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 1.3 AU โดยยังถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ตามลักษณะของวงโคจรดังนี้
    • Atiras เป็นกลุ่มดาวเคราะห์น้อย ที่มีวงโคจรอยู่ระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ และถูกตั้งชื่อตามดวงเคราะห์น้อย 163693 Atiras ซึ่งเป็นดาวเคราะห์น้อยดวงแรกของกลุ่มที่ถกค้นพบ
    • Atens เป็นกลุ่มดาวเคราะห์น้อย ที่มีวงโคจรตัดกับวงโคจรของโลก และโคจรรอบดวงอาทิตย์ที่ระยะห่างมากที่สุด น้อยกว่า 0.9383 AU และถูกตั้งชื่อตามดวงเคราะห์น้อย 2062 Atens ซึ่งเป็นดาวเคราะห์น้อยดวงแรกของกลุ่มที่ถกค้นพบ
    • Apollos   เป็นกลุ่มดาวเคราะห์น้อย ที่มีวงโคจรตัดกับวงโคจรของโลก และโคจรรอบดวงอาทิตย์ที่ระยะห่างมากที่สุด มากกว่า 0.9383 AU และถูกตั้งชื่อตามดวงเคราะห์น้อย 1862 Apollos ซึ่งเป็นดาวเคราะห์น้อยดวงแรกของกลุ่มที่ถกค้นพบ
    • Amors เป็นกลุ่มดาวเคราะห์น้อย ที่มีวงโคจรอยู่ระหว่างโลกและดาวอังคาร  และถูกตั้งชื่อตามดวงเคราะห์น้อย 1221 Amors ซึ่งเป็นดาวเคราะห์น้อยดวงแรกของกลุ่มที่ถกค้นพบ
    ภาพแสดงลักษณะวงโคจรของ NEAs แต่ละกลุ่ม 
    [Credit: Roger Dymock]


  3. PHAs (Potentially Hazadous Asteriods) ดาวเคราะห์น้อยในกลุ่มนี้ คือ NEAs ที่โคจรเข้ามาใกล้โลกของเรามาก โดยห่างจากโลกของเราไม่เกิน 0.05 AU และมีค่าความสว่างสมบูรณ์ (Absolute Magnitude: H) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 22 ซึ่งค่าความสว่างสมบูรณ์นี้จะเป็นตัวแปรที่ใช้ประมาณขนาดของดาวเคราะห์น้อย โดยค่าความสว่างสมบูรณ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 22 จะหมายถึงดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดตั้งแต่ 110 เมตรขึ้นไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น