วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

ระบบการตั้งชื่อดาวเคราะห์น้อย

หลังจากที่ดาวเคราะห์น้อยถูกค้นพบครั้งแรก จะถูกตั้งระหัสชื่อชั่วคราวโดยผู้ค้นพบก่อน รหัสชื้อนี้ไม่ใช้ชื้อของผู้ค้นพบเลยนะครับ แต่จะเป็นระหัส 6 หลัก ที่ประกอบด้วยตัวอักษรบางส่วนของชื่อผู้ค้นพบและตัวเลข เช่น TEE001 เมื่อผู้ค้นพบส่งข้อมูลตำแหน่งของดาวเคราะห์น้อยไปยัง Minor Planet Center (MPC) ดาวเคราะห์น้อยจะได้รับการตั้งชื่อตามระบบการตั้งชื่อแบบสากลอีกทีหนึ่ง

ระบบการตั้งชือของดาวเคาระห์น้อยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนั้น เป็นระบบที่ถูกปรับปรุงโดย Bower ในปี ค.ศ. 1924 และเริ่มนำมาใช้จริงตั้งแต่ปี ค.ศ.1925 โดยการตั้งชื่อจะเริ่มต้นด้วย ปี ค.ศ. ที่ค้นพบเป็นตัวเลข 4 หลัก และตามด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวใหญ่ ที่ระบุช่วงเวลาการค้นพบ ตั้งแต่ A-Y (ยกเว้นตัว I) โดยแบ่งออกเป็นช่วงละครี่งเดือน (ดูจากตารางด้านล่าง เช่น อักษร A แทนดาวเคราะห์น้อยที่ถูกค้นพบในช่วงวันที่ 1-15 มกราคม) จากนั้นตามด้วยอักษรตัวใหญ่อีก 1 ตัวเป็นการไล่ลำดับการค้นพบ ตั้งแต่ A-Z (ยกเว้นตัว I) ดังนั้นในแต่ละช่วงครึ่งเดือนจะมีจำนวนดาวเคราะห์น้อย 25 ดวง เช่น ในช่วงวันที่ 1-15 มกราคม ค.ศ. 2000 ดวงเคราะห์น้อย 25 ดวงแรกจะมีรหัสชื่อดังนี้ 2000AA - 2000AZ

หากในช่วงครึ่งเดือนนั้นพบดวงเคราะห์น้อยมากกว่า 25 ดวง ดวงที่ 26-50 การบอกลำดับจะเพิ่มตัวเลขกำกับคู่กับตัวอักษรเข้าไปอีก เป็น A1-Z1 ในทำนองเดียวกันดวงที่ 51-75 การไล่ลำดับจะเป็น A2-Z2 เป็นแบบนี้เรื่อยไปจนกว่าจะขึ้นช่วงครึ่งเดือนถัดไป

[Credit: Roger Dymock]

ตัวอย่างเช่น
ดาวเคราะห์น้อยที่ถูกค้นพบเป็นดวงที่ 10 ภายในวันที่ 1-15 ของเดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 2009 จะถูกตั้งชื่อว่า 2009 TK

ส่วนดาวเคราะห์น้อยที่ถูกค้นพบเป็นดวงที่ 30 ภายในวันที่ 1-15 ของเดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 2009 จะถูกตั้งชื่อว่า 2009 TE1 

สำหรับข้อมูลดาวเคราะห์น้อยที่ส่งให้กับ Minor Planet Center นั้น ชื่อของดาวเคราะห็น้อยจะถูกปรับให้เป็นชื่อแบบย่อ โดยจะเริ่มจากอักษร K (หมายถึง ค.ศ. 2000) ตามด้วยตัวเลขระบุปี ค.ศ.ที่เหลืออีก 2 หลัก แล้วตามด้วยอักษรแสดงช่วงครึ่งเดือนที่ค้นพบ  และสุดท้ายตามด้วยลำดับการค้นพบ แต่การบอกลำดับนี้จะถูกปรับให้ชุดที่มี 3 หลัก โดยนำตัวเลขที่เคยต่อท้ายมาไว้หน้ตัวอักษร โดยปรับให้ตัวเลขมี 2 หลัก (ถ้าไม่มีตัวเลขต่อท้ายตัวอักษรจะใช้เป็น 00 แทน) แล้วตามด้วยตัวอักษร

ตัวอย่างเช่น
ดาวเคราะห์น้อย 2009 TK จะมีชื่อย่อว่า K09T00K
ดาวเคราะห์น้อย 2009 TE1 จะมีชื่อย่อว่า K09T01E

หลังจากนั้น เมื่อวงโคจรของดาวเคราะห์น้อยถูกระบุได้ค่อนข้างแน่นอนแล้ว ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้จะได้รับชื่อใหม่ เป็นตัวเลข ซึ่งเป็นตัวเลขแสดงลำดับของดาวเคราะห์น้อยที่ทราบวงโคจรที่ค่อนข้างแน่นอนแล้ว เช่น (337003) 2012 OG


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น