วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

ติดตามการสำรวจพื้นผิวดาวเคราะห์น้อยกับปฏิบัติการณ์ Dawn

สำรวจ Dawn  [Credit: NASA/JPL]

ยานสำรวจ Dawn ขององค์การนาซา ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ เมื่อวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 2007 โดยมีภารกิจเพื่อการสำรวจดาวเคราะห์น้อย Vesta และดาวเคราะห์แคระ Ceres ในบริเวณแถบเข็บขัดดาวเคราะห์น้อย ซึ่งอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี โดยมีกำหนดถึงวงโคจรของดาวเคราะห์น้อย Vesta ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2011 ที่ผ่านมา ยาน Dawn จะถ่ายภาพและเก็บข้อมูลพื้นผิวของดาว Vasta เป็นเวลา 1 ปี ก่อนจะออกจากวงโคจรไปในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2012 จากนั้นจะเดินทางเข้าสู่วงโคจรของดาวเคราะห์แคระ Ceres ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015

การเดินทางของยานสำรวจ Dawn  [Credit: NASA/JPL]

ขณะนี้ยาน Dawn ยังคงปฏิบัติภาระกิจอยู่บนวงโคจรของดาวเคราะห์น้อย Vesta โดยมีรายงานข้อมูลล่าสุดว่า อุปกรณ์ตรวจจับรังสีแกรมมาและอนุภาคนิวตรอน หรือ Gamma ray and neutron detector (GRaND) ของยาน ตรวจพบแร่ที่มีองค์ประกอบของธาตุไฮโดรเจนบนพื้นผิวของดาว Vesta ซึ่งมีลักษณะแบบเดียวกับที่พบในองค์ประกอบของน้ำ ซึ่งที่มาของสารประกอบไฮโดรเจนนี้ Thomas Prettyman หัวหน้าทีมนักวิทยาศาสตร์ของ GRaND กล่าวว่า “ที่มาของไฮโดรเจนที่พบภายในพื้นผิวของดาว Vesta นี้อาจเกิดขึ้นจากการถูกอุกกาบาตที่มีปริมาณคาร์บอนสูงพุ่งชนด้วยความเร็วต่ำ (คาร์บอนเป็นธาตุที่มีองค์ประกอบเป็นรูพรุน สามารถดูดซับสารที่มีโมเลกุลเล็กกว่าอย่างเช่นน้ำเอาไว้ได้) และพลังงานที่เกิดขึ้นจากการพุ่งชนนั้นไม่รุนแรงมาก ทำให้ยังสามารถรักษาอนุภาคที่ระเหยง่ายอย่างอนุภาคที่มีองค์ประกอบของไฮโดรเจนเอาไว้ได้ ”


ที่มาและข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.nasa.gov/mission_pages/dawn/news/dawn20120920.html


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น