วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

ซอฟต์แวร์ Stellarium กับการศึกษา NEOs (ตอนที่1)

ซอฟต์แวร์ Stellarium เป็นซอฟต์แวร์ท้องฟ้าจำลอง ที่สามารถระบุคำแหน่งของดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ และเทหวัตถุต่างๆ ตามสถานที่และเวลาที่เราสามารถระบุได้เอง และที่สำคัญ เป็นซอฟต์แวร์ที่เปิดให้ดาวน์โหลดฟรีครับ ใครยังไม่เคยลองใช้ ลองเข้าไปดาวน์โหลดมาใช้กันได้ที่  www.stellarium.org

ซอฟต์แวร์ Stellarium 

ส่วนใครที่เคยใช้แล้ว วันนี้ผมมีเทคนิคการใช้ Stellarium ในการค้นหาตำแหน่งของดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และวัตถุพวก NEOs มาฝากครับ เนื่องจากโดยปกติแล้ว Stellarium จะไม่ได้อัปเดตข้อมูลวงโคจรของดาวเคราะห์น้อยหรือดาวหางให้เราครับ เราจึงจำเป็นต้องเข้าไปอัปเดตเอง ขั้นตอนก็ไม่ยากครับ เริ่มจาก


1. ลากเมาท์ไปวางไว้ทางด้านซ้านมือ พอแถบเครื่องมือปรากฏขึ้นก็ให้เลือก Configuration Window หรือจะกด F2 ก็ได้ครับ


2. เมื่อหน้าต่าง Configuration ปรากฏขึ้น ให้เลือกแท็ป Plugins และในรายการของ Plugins ด้านซ้าย ให้เลือก Solar System Editor จากนั้นให้คลิกปุ่ม Configure ในส่วนของ Options ด้านล่างครับ


3. จากนั้นหน้าต่าง Solar System objects จะปรากฏขึ้น ให้เลือกที่แท็ป Solar System ครับ ในแท็ปนี้จะมีอยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนบน Solar System objects จะเป็นรายการของวัตถุที่เราเพิ่มข้อมูลของวงโคจรเข้ามาแล้ว และส่วนล่าง จะเป็นการอธิบายว่า เราสามารถเพิ่มข้อมูลของวัตถุที่เราสนใจได้ โดยดาวน์โหลดข้อมูลวงโคจรจากเว็บไซต์ของ Minor Planet Center หรือ MPC ให้เราคลิกที่ปุ่ม Import orbital elements in MPC format... เลยครับ


4. จากนั้น หน้าต่าง Import Data จะปรากฏขึ้น ในแท็ป List ส่วนของ Select the type ให้เราเลือกกลุ่มของวัตถุท้องฟ้าที่เราสนใจ โดยมีให้เลือก  2 ชนิด คือ ดาวเคราะห์น้อย (Asteroid) หรือดาวหาง (Comet) ในที่นี้ผมเลือกดาวเคราะห์น้อย


5. จากนั้นในส่วนของ Select the source ให้เลือก Download a list of object from the internet แล้วเลือก Select bookmark โดยจะมีฐานข้อมูลดาวเคราะห์น้อยให้เราเลือกอยู่ 3 รายการ คือ

MPC's list of the bright minor planets at opposition in 2011
MPCORB: near-Earth asteroids (NEAs)
MPCORB: potentially hazardous asteroids (PHAs)

โดยในที่นี้ผมเลือก ฐานข้อมูลวงโคจรของ NEAs ครับ


6. เมื่อเลือกฐานข้อมูลแล้วให้คลิกที่ปุ่ม Get orbital elements แล้วรอสักครู่ครับ


7. เมื่อข้อมูลถูกดาวน์โหลดเรียบร้อยแล้วจะปรากฏหน้าต่าง Objects found เราสามารถเลือกเฉพาะวัตถุที่เราสนใจหรือเลือกทั้งหมดก็ได้ ในที่นี้ผมเลือกทั้งหมดครับ โดยการคลิกที่ปุ่ม Mark all จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Add objects ครับ รอสักครู่หนึ่ง เมื่อหน้าต่าง Import data กลับมาเป็นหน้าต่างที่ปรากฏแท็ป Lists อีกครั้ง ก็แสดงว่าข้อมูลของดาวเคราะห์น้อยในกลุ่ม NEAs ได้ถูกเพิ่มเข้าไปในฐานข้อมูลของ Stellarium เรียบร้อยแล้ว ให้ปิดหน้าต่างที่ค้างอยู่ให้หมดครับ แล้วลองมาค้นหาตำแหน่งของดาวเคราะห์น้อยกัน


8. ลองค้นหา (กด Ctrl+F) แล้วพิมพ์ชื่อดาวเคราะห์น้อย 2011 AG5 ลงไป แล้ว Enter ครับ


9. ตำแหน่งของดาวเคราะห์น้อยจะปรากฏขึ้น โดยขณะนี้ดาวเคราะห์น้อย 2011 AG5 ปรากฏอยู่ในกลุ่มดาวปู (Cancer) โดยมีค่าความสว่างประมาณ 24.7 Mag ซึ่งมีความสว่างน้อยเกินไป ที่จะติดตามถ่ายภาพจากหอดูดาวบนพื้นโลก ต้องรอให้ดาวเคราะห์น้อยโคจรกลับมา จนมีความสว่างมากพอ ราวๆ 21 Mag. กล้องดูดาวขนาดใหญ่บนพื้นโลกถึงจะเริ่มถ่ายภาพได้อีกครั้ง

สำหรับตอนต่อไปจะขอแนะนำการกำหนดขนาด FOV ให้เป็นไปตามอุปกรณ์ที่เราใช้สังเกตหรือถ่าพภาพครับ



3 ความคิดเห็น:

  1. ผมจะให้นักเรียนติดตามครับ ทำงานวิจัยได้เลย

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอบคุณครับ อาจารย์ชัยวัฒน์ หากน้องๆ สนใจ จะลองทำเป็นงานวิจัย ก็ลองเก็บข้อมูลจากบอล์กนี้ไปก่อนนะครับ ถ้ามีอะไรส่งสัยก็โพสคำถามไว้ได้นะครับ

      ลบ